วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

               บริเวณปากแม่น้ำก่อนออกอ่าวไทยของเมืองนี้  เป็นทำเลเหมาะสมที่เรือสำเภาซึ่งส่วนมากเป็นของชาวจีน ที่มีความชำนาญ  ใช้เป็นที่จอดพักขนถ่ายซื้อขายสินค้าก่อนที่จะแล่นไปถึงอยุธยา  และแล่นออกสู่ทะเลนานาชาติ การขนถ่ายสินค้าต้องใช้แรงงาน  จึงมีแรงงานชาวจีนมาพักอาศัยและตั้งรกรากในบริเวณนี้ สืบต่อมาเป็นคนพื้นถิ่นซึ่งมีสายเลือดจีนอยู่มาก ท่าเรือสำเภาของคนจีนจึงเป็นตำบลท่าจีน

  ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ท่าจีน” เพราะแต่เดิมเป็นตำบลใหญ่อยู่ติดอ่าวไทยมีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีนนำสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายกันมาก  จึงเรียกติดปากกลายเป็นตำบล “ท่าจีน” 

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง

            สถานีอนามัยตำบลท่าจีน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร  จังหวัดสมุทรสาคร  อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรสาคร  ซึ่งมีระยะห่างจากอำเภอประมาณ  5  กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ    ติดต่อกับ / จรด  ตำบลท่าทราย  อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ทิศใต้  ติดต่อกับ / จรด  ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ / จรด  ตำบลท่าฉลอม / มหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ / จรด  ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ภูมิประเทศ

               สถานีอนามัยตำบลท่าจีนอยู่ในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร  จังหวัดสมุทรสาคร  เป็นที่ราบลุ่มภาคกลาง  มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน  ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม  และเลี้ยงกุ้ง  การตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายตามริมฝั่งแม่น้ำ

3 เก็บ 3 โรค

กระทรวงสาธารณสุข แนะมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ได้แก่ เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย และเก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ป้องกันโรคจากยุงลาย

นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การดำเนินการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาที่ผ่านมาในประเทศไทยได้ดำเนินการตามมาตรการองค์การอนามัยโลกและกฎอนามัยระหว่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้ ได้มีการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศอย่างต่อเนื่องรวมทั้งยังคงเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดหากพบสถานการณ์หรือมีข้อมูลเพิ่มเติม ทางกระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ และความพร้อมด้านการดูแลรักษา ตลอดจนการควบคุมแมลงพาหะนำโรคอย่างเข้มข้นทั่วประเทศ
โดยโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วันอาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกในเรื่องดังกล่าว ขอให้เชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย ขออย่าเชื่อข่าวลือจากทางอื่นและโปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา 80% ไม่มีอาการ ส่วนผู้มีอาการก็ไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์ที่อาจมีความเสี่ยงเรื่องทารกผิดปกติหรือผู้มีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท แต่ให้ตระหนักโดยป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชน ร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน รอบๆ บ้านและในชุมชน ทั้งคนในครอบครัวและคนในชุมชนเอง ไม่จำเป็นต้องรอเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการให้ โดยให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันในเรื่องนี้
ทั้งการช่วยกันค้นหา และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมกัน ตามมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ได้แก่ เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย และเก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ ไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

BTemplates.com

Most Popular